วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

เทศกาลในฤดูหนาว

เทศกาลในฤดูหนาว




15-18 ธ.ค.
เทศกาล อ็อง มัตสุริ (On Matsuri) ของศาลเจ้าคะซึกะของเมืองนารา จะมีขบวนแห่สวมหน้ากาก

17-19 ธ.ค.

งานฮะโกอิตะ อิชิ (Hagoita-Ichi) ของวัดอะซะคุซะคันนอนในโตเกียว มีการออกร้านขายไม้ตีลูกขนไก่โบราณ

31 ธ.ค.

งานไหว้พระ (OTERAMAIRI) ที่ศาลเจ้ายะซะกะในเกียวโต มีพิธีไฟศักดิ์สิทธิ์

1 ม.ค.

วันปีใหม่ (New Year’s Day) มีจนถึงวันที่ 3 ร้านค้า โรงงาน ธุรกิจต่างๆ จะปิด ครอบครัวต่างๆ  จะฉลองด้วยอาหารมื้อพิเศษ แต่งชุดกิโมโนที่สวยที่สุด และจะพากันไปวัดหรือศาลเจ้า เพื่อไหว้พระขอพรให้สุขภาพดี และมีความสุขตลอดปี

6 ม.ค.

วันทำพิธีดับเพลิง (Dezomeshiki) ชมขบวนสาธิตการดับเพลิงในโตเกียว โดยมีตัวแทนพนักงานดับเพลิงแสดงโลดโผนบนยอดบันไดช่วยหนีไฟ

กลาง ม.ค.

(15 วัน) การแข่งซูโม่รอบแรก ในโตเกียว

ก่อนวันบรรลุ นิติภาวะ

(Day Before Coming of Age Day) เทศกาลเผาหญ้า บนเขา WakakusaYama ในเมืองนารา

ต้น ก.พ.

(7วัน) เทศกาลหิมะ (Snow Festival) ที่มีชื่อที่สุดในญี่ปุ่น ที่เมืองซัปโปโร บนเกาะฮ็อกไกโด มีรูปแกะสลักหิมะและน้ำแข็งอันมหึมาต่างๆ มากมายจากทั่วโลกมาประชันและแข่งขันกันทุกปี

ต้นหรือกลาง ก.พ.

เทศกาลหิมะ ที่อะซะฮิคะวะหรืออะบะชิริและเมืองอื่นๆ ในฮ็อกไกโด

3 หรือ 4 ก.พ.

เทศกาลโปรยถั่ว (Setsubun Matsuri) เป็นพิธีไล่สิ่งอัปมงคล ทำกันตามวัดใหญ่ทั่วประเทศ

3 หรือ 4 ก.พ.

เทศกาลแห่โคม (Lantern Matsuri) ของศาลเจ้าคะซึกะ ในเมืองนารา

5-16 ก.พ.

เทศกาลคะมะคุระ (Kamakura Matsuri) ของเมืองโยโคเทะในอะคิตะ มีกระท่อมหิมะที่สร้างบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำ

วันเสาร์ที่ 3ของ ก.พ.

เทศกาลเปลือย (Hadaka Matsuri) ที่วัดไซไดหยิในเมืองโอคะยะมะ
เครดิต http://siya.in.th/60403/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=38&Itemid=37

เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง





เทศกาลในฤดูใบไม้ร่วง

16 ก.ย.
งานแสดงขี่ม้ายิงธนู (Yabusame) ที่ศาลเจ้าทซึรุหงะโอกะ ฮะจิมังงู ที่เมืองคะมะคุระ

กลาง ก.ย.

(15 วัน) แข่งซูโม่รอบที่ 5 ในโตเกียว

7-9 ต.ค.

เทศกาลคุนจิ (Kunchi Matsuri) ของศาลเจ้าซูวะในเมืองนางาซะกิ มีระบำมังกรจีนดั้งเดิม

9-10 ต.ค.

เทศกาลทะคะยะมะ (Takayama Matsuri) แห่งศาลเจ้าฮาจิมังงุ ซึ่งมีขบวนรถสีสรรต่างๆ มากมาย

กลาง ต.ค. 

เทศกาลเมืองนาโงย่า (Nagoya City Matsuri)  มีขบวนพาเหรดซามูไรตามถนนในเมือง

กลาง ต.ค. ถึง พ.ย. 

เทศกาลดอกเบญจมาศ ที่ศาลเจ้าเมหยิ และวัดอะซะคุซะในโตเกียว
17 ต.ค.

เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง (Autumn Matsuri) ของศาลเจ้าโทโชงุ ที่เมืองนิกโก้ มีขบวนพาเหรดของนักรบโบราณในชุดเสื้อเกราะติดตามขบวน
22 ต.ค.

เทศกาลยุคสมัย (Jidai Matsuri) เป็นเทศกาลของศาลเจ้าเฮอันใน เกียวโตซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 เทศกาลใหญ่ของเกียวโต

22 ต.ค

เทศกาลไฟ จะมีขบวนแห่คบเพลิงมุ่งมายังศาลเจ้ายุคิคุระมะในเกียวโต

2-4 พ.ย.

เทศกาลโอคุนจิ (Okunchi Matsuri) ของศาลเจ้าคะระทจึในเมืองจะซะหงะ จะมีขบวนพาเหรดที่มีสีสรร

3 พ.ย.

ขบวนแห่เจ้าเมือง (Daimyo Gyoretsu) ในเมืองฮะโกเน่

กลาง พ.ย.

(15 วัน) แข่งซูโม่รอบที่ 6 ในเมืองฟุคุโอกะ

15 พ.ย.

เทศกาลเจ็ดห้าสาม สำหรับเด็กอายุ 3, 5 และ 7 ปี จะไปศาลเจ้าเพื่อขอพรจากเทพเจ้าให้มีสุขภาพดีตลอดไป
เครดิตhttp://siya.in.th/60403/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=37&Itemid=39

เทศกาลในฤดูร้อน


 


เทศกาลในฤดูร้อน

กลาง มิ.ย.

เทศกาลซันโน (Sanno Matsuri) ที่ศาลเจ้าฮิเอะ ในโตเกียว มีการแห่ศาลเจ้าผ่านถนนในย่านอะซะกุซะ
เสาร์ที่ 2 ของ มิ.ย.

เทศกาลม้า (Chagu-Chagu Umakko Horse Festival) ในเมืองโมริโอกะ มีแห่ขบวนม้าประดับอย่างมีสีสัน
7 ก.ค.

เทศกาลดวงดาวหรือเทศกาลทานาบะตะ (Tanabata Festival) จัดขึ้นทั่วญี่ปุ่น แต่ที่เมืองเซนไดอย่างยิ่งใหญ่ และมีชื่อเสียงที่สุด มีการประดับโคมกระดาษหลากสีสวยงาม

กลาง ก.ค.

(15 วัน) การแข่งซูโม่ รอบที่ 4 ที่นาโงย่า
13-15 ก.ค.

(หรือ ส.ค.ในหลายพื้นที่) เทศกาลบน (Bon Festival) จัดทั่วประเทศ  เป็นพิธีทางศาสนา เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมีการเต้นระบำโบราณ BON ODORI เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณเหล่านั้น
14 ก.ค.

เทศกาลไฟ (Nachi Shrine No Himatsuri) ที่ศาลเจ้านะจิคะทจึระในเมืองวะกะยะมะ มีการแบก 12 คบเพลิงขนาดใหญ่ โดยนักบวชในชุดขาว

1-15 ก.ค.

เทศกาลฮะคะตะ กิออน ยะมะงะซะ (Hakata Gion Yamagasa) งานใหญ่จะจัดในวันที่ 15 ที่เมืองฟุคุโอกะ มีการแห่ขบวนรถประดับสวยงามที่ยิ่งใหญ่
16-17 ก.ค.

เทศกาลกิออน (Gion Matsuri)  เป็นเทศกาลย้อนยุคไปในศตวรรษที่ 9 ที่ใหญ่ที่สุดในเกียวโต จะมีขบวนแห่ชุดแต่งกายโบราณผ่านถนนสายหลักหลายสาย
ก.ค. หรือ ส.ค.

เทศกาลดนตรี (Kangensai Music Festival) ของศาลเจ้า Itsukushima ใกล้เมืองฮิโรชิม่า มีการรำประกอบดนตรีราชสำนัก
24-25 ก.ค.

เทศกาลเทนยิน (Tenjin Matsuri) ของศาลเจ้าเทนมันงู ในโอซาก้า มีขบวนแห่ศาลเจ้าบนเรือเหนือลำน้ำโดจิมะ
1-7 ส.ค.

เทศกาลเนบุตะ (Nebuta Matsuri) มีขบวนแห่โครงหุ่นประดับไฟ ในเมืองอะโอโมริ (2-7 สิงหาคม) เมืองฮิโรซะกิ

3-6 ส.ค

เทศกาลคันโต (Kanto Matsuri)ที่เมืองอะคิตะ มีขบวนแห่แผงโคมไฟที่แขวนบนราวไม้ไผ่
5-7 ส.ค.

เทศกาลฮะนะงะซะ (Hanagasa Matsuri) ในเมืองยะมะงะตะ มีขบวนฟ้อนรำของชาวเมือง เป็น 10,000 คน ในชุดหมวกฟางติดดอกไม้เทียม ซึ่งเป็นชุดประจำเทศกาล


12-15 ส.ค. 

เทศกาลระบำอาว่า (Awa Odori Folkdance Festival) ที่เมืองโทคุชิมะ มีการร้องรำทั้งกลางวันและกลางคืน 
16 ส.ค. 


งานไดมอนหยิ บอนไฟ (Daimonji Bonfire)  เป็นเทศกาลเพื่อส่งดวงวิญญาณผู้ล่วงลับไปแล้วโดยการเผาไฟบนเนินเขา ซึ่งเห็นได้จากตัวเมืองเกียวโต
เครติดhttp://siya.in.th/60403/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=36&Itemid=36

เทศกาลในฤดูใบไม้ผลิ

เครดิต:http://siya.in.th/60403/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=35&Itemid=38

3 มี.ค.
เทศกาลฮินะมัตสุริ (Hina Matsuri) เป็นเทศกาลวันเด็กผู้หญิง จะมีการตกแต่งตุ๊กตาที่แต่งกายแบบพระราชสำนักบนหิ้งเป็นชั้นๆ ในบ้านที่มีลูกสาวยังเด็กอยู่
13 มี.ค. 

เทศกาลคะซูกะ (Kasuga Matsuri) ของศาลเจ้าคะซูกะ ในเมืองนารา มีการฟ้อนรำโบราณที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี

กลางมีนาคม

(15 วัน) มีการแข่งซูโม่รอบที่ 2 ในโอซาก้า

1-30 เม.ย.
ระบำมิยะโกะ หรือระบำซากุระ ที่เกียวโต เป็นระบำญี่ปุ่น ที่แสดงโดยนักฟ้อนรำที่เรียกว่า "ไมโกะ" (Maiko)
8 เม.ย.

เทศกาลถวายดอกไม้ (Hana Matsuri) ตามวัดพุทธต่างๆ เพื่อระลึกถึงวันประสูติของพระพุทธเจ้า
14-15 เม.ย.

เทศกาลทะคะยะมะ (Takayama Matsuri) ของศาลเจ้าฮิเอะ ในเมืองทะคะยะมะ ชมขบวนรถแห่ศาลเจ้าอันตระการตา
16-17 เม.ย.

เทศกาลยะโยอิ (Yayoi Matsuri) ที่ศาลเจ้าฟุตะระซัน ในเมืองนิกโก มีขบวนแห่ตกแต่งสวยงาม
3-4 พ.ค

เทศกาลฮะคะตะ โดนทะคุ (Hakata Dontaku) ในเมืองฟุคุโอกะ มีขบวนแห่เทพเจ้าบนหลังม้า ตามตำนานญี่ปุ่น
3-5 พ.ค.

เทศกาลแข่งว่าว ที่เมืองฮะมะมัตสึ เป็นสนามแข่งว่าวที่มีการแข่งขันว่าวขนาดใหญ่ที่สุด
5 พ.ค.

เทศกาลวันเด็กผู้ชาย จะมีการประดับธงปลาคาร์พหลากสี ตามจำนวนลูกชายของแต่ละบ้าน ซึ่งจะโบกสะบัดโต้ลมฤดูใบไม้ผลิ อย่างสวยงามมาก
11 พ.ค.-15 ต.ค.

เทศกาลจับปลาโดยนกกาน้ำ ในแม่น้ำนะงะระงะ ที่เมืองเซคิในจังหวัดกิฟุ
15 พ.ค.

เทศกาลอะโออิ (Aoi Matsuri) ที่เมืองเกียวโตจะมีขบวนแห่ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โบราณ พร้อมขบวนรถที่มีพรรณไม้ดอกหลากสีอันสวยหรู

กลาง พ.ค.
(15 วัน) การแข่งซูโม่รอบที่ 3 ในโตเกียว

17-18 พ.ค. 

เทศกาลใหญ่ของศาลเจ้า โทโชงุ ที่เมืองนิกโก้ จะมีขบวนแห่นักรบกว่า 1,000 คน

วันอาทิตย์ที่ 3 ของ พ.ค.  

เทศกาลมิฟูเน่ (Mifune Matsuri) มีแห่ขบวนเรือโบราณ บนแม่น้ำโออิ ในเกียวโต
วันอาทิตย์ที่ 3 ของ พ.ค.

เทศกาลซันจะ (Sanja Matsuri) ของศาลเจ้าอะซะกุซะ ในโตเกียว มีการแห่ศาลเจ้าใหญ่ๆ 3 ศาล อีกทั้งย่อยๆ อีกนับร้อยกว่าศาล

ฤดูหนาว

กินระยะเวลาจากเดือนธันวาคมจนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์เลยหล่ะค่ะ นับเป็นช่วงหนาวที่โหดร้ายสำหรับชาวญี่ปุ่นแถบทางเหนือของฮ็อกไกโด โทฮกกุ และฮิคุริกุเลยทีเดียว สิ่งที่น่ารื่นรมย์สำหรับฤดูหนาวก็คือเทศกาล "Omisoka" คล้าย ๆ การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่หล่ะค่ะ แต่จะไม่ตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม แต่จะอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนปีใหม่นะคะ คนในครอบครัวจะใช้เวลาอาหารเย็นร่วมกันอย่างเป็นสุข ส่วนใหญ่จะนิยมฉลองกันด้วยบะหมี่ที่เรียกว่า " Toshikoshi soba " หรือบะหมี่ข้ามปีนั่นเอง พร้อมกับการรอคอยการฟังเสียงระฆังต้อนรับปีใหม่ ที่เรียกว่า "Joya no kane" ค่ะ

ฤดูใบไม้ร่่วง

อยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายนค่ะ เป็นช่วงที่แสนจะโรแมนติกเลยหล่ะค่ะ เพราะใบไม้สีเขียวสีแดงร่วงลงมาทับถมบริเวณทั่วไป และเป็นช่วงของการแข่งกีฬาระหว่างโรงเรียน ปลายฤดูใบไม้ร่วงก่อนถึงฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ส่องแสงยาวนานที่สุด ชาวญี่ปุ่นเรียกช่วงนี้ว่า " Koharubiyori " ค่ะ

ฤดูร้อน

ฤดูร้อน

เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคมค่ะ แต่ในช่วงมิถุนายนมักมีฝนตกจึงทำให้อากาศไม่ร้อนเกินไป หลังจากนั้นจะเริ่มร้อนและมีแดดจัด การอาบแดด แคมปิ้ง และการพักผ่อนตามชายหาด คือกิจกรรมยอดนิยมในช่วงฤดูร้อนนี้เลยหล่ะค่ะ จึงทำให้สถานที่พักผ่อนตามชายทะเลเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยว ดังนั้นหากใครที่วางแผนจะเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงนี้ควรจองที่พักล่วงหน้านะ คะ

ฤดูใบไม้ผลิ

ฤดูใบไม้ผลิ

อยู่ระหว่างดือนมีนาคม-พฤษภาคมค่ะ เป็นฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการเยือนประเทศญี่ปุ่นเลยนะคะ และคนญี่ปุ่นเองก็ถือว่าเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นใหม่ของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเป็นช่วงเปิดเทอมของเด็ก ๆ อีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะพบเห็นชาวญี่ปุ่นออกมาเดินเล่นและมีกิจกรรมนอกบ้าน กันมากมาย ทั้งนี้จะเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูหนาวที่หิมะละลายหมด และเป็นการเริ่มต้นของซากุระไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ในฤดูนี้ยังมีช่วงเวลาของวันสำคัญหลายอย่างค่ะ รวมไปถึงเทศกาลชมซากุระ ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "Hanami " อีกด้วยนะคะ

เทศกาลเด็กผู้หญิง

วัน เด็กผู้หญิง (Hinamatsuri ひな祭り ) ตรงกับวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี "เทศกาลฮินะ" เป็นเทศกาลฉลองของเด็กผู้หญิง หรือบางท่านอาจ เรียกว่า "เทศกาลลูกท้อ" (Momo no sekku) เป็นการอธิษฐานของพรให้เด็กผู้หญิงเติบโตมีสุขภาพที่แข็งแรงและได้มีคู้ครอง ที่ดี โดยประดับตุ๊กตาฺฮินะ (Hina-ningyou) เรียงไว้บนหิ้ง 7 ชั้น นิยมเสริฟสาเกขาว (Shirozake) ซึ่งทำจากการเหล้ากับข้าวบาเลย์ และทานขนมโมจิ (Hishimochi) หรือขนมแป้งรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กันในเทศกาลนี้ 

ตุ๊กตาที่ตั้งโชว์จะประกอบด้วยตุ๊กตาจักรพรรดิและจักรพรรดินี (ไดริซามะ) นางกำนัล 3 คน (ซันนิน คันโจ) พร้อมทั้งนักดนตรี 5 คน (โกะนิน บายาฉิ) และตุ๊กตาอื่น ๆ ตุ๊กตาทุกตัวจะถูกวางเรียงบนแท่นที่เป็นขั้น ๆ ซึ่งมีผ้ากำมะหยี่สีแดงคลุม แท่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ฮินะดัง" เช่นเดียวกับชื่อเรียกของที่นั่งของรัฐมยตรีในสภาไดเอท
  ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้กที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมจิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และจิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตาเจ้าชายโอไดริซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง

เทศกาลปีใหม่

  เฉลิมฉลองการเิริ่มต้นปีใหม่ ช่วงปีใหม่นี้จะฉลองตั้งแต่วันที่ 1-7 มกราคม เรียกว่า "มัทสึ โนะ อุจิ" (Matsu no uchi) แต่ละครอบครัวจะทำความสะอาดตั้งแต่ปลายปีทั้งในและนอกบ้าน เพื่อให้บ้านสะอาดบริสุทธิ์ เตรียมประกอบอาหารที่นิยมรับประทานช่วงปีใหม่ ได้แก่ โมจิ(Mochi) ที่ใส่ในซุปโซนิ(Zouni) และอาหารปีใหม่เรียกว่า "โอะเซจิ เรียวหริ"(Osechi Ryouri) และถือได้ว่าเป็นวันสำคัญที่สุดของชาวญี่ปุ่น ประชาชนจะเข้าร่วมกิจกรรมประเภทต่าง ๆ และพากันอธิษฐานขอความโชคดีในช่วงเวลาของปีที่กำลังจะมาถึง

แสงของดวงอาทิตย์ในวันปีใหม่ (อาซึฮิโนเด้) เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นดินแดนแห่งศาสนาชินโต ซึ่งมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นตัวแทนเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดในจักรวาล ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าการสวดมนต์อธิษฐานในเช้าวันที่ 1 มกราคม ในขณะที่พระอาทิตย์จะเป็นการนำความโชคดีและความสุขมาให้ตลอกปีใหม่
การไปวัดครั้งแรกของปี (ฮาซึโมเด้) หลังจากนาฬิกาตีในเวลาเที่ยงคืน ถือว่าเป็นวันใหม่ของวันที่ 1 มกราคม ประชาชนจะพากันไปวัด เพื่ออธิษฐานขอให้มีสุขภาพดีและประสพความเจริญรุ่งเรือง
อาหารวันขึ้นปีใหม่ (โอเซจิ เรียวหริ) เป็นอาหารซึ่งประกอบด้วย ปลาต้ม ผสมแป้งทำเป็นก้อน (คามาโบโกะ), กุ้ง และอาหารทะเลประเภทอื่น ๆ และผักต่าง ๆ มักบรรจุในกล่องไม้ลงรักเป็นชิ้น ๆ ชนิดพิเศษ และชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทาน “โซหนิ” ซึ่งเป็นซุปใส่ขนมแป้ง หัวไชเท้า และผักอื่น ๆ เชื่อว่า จะช่วยให้อายุยืนยาวและสุขภาพดี
เงินในรูปของขวัญ (โอโทชิดามะ) ในช่วงปีใหม่ เด็ก ๆ จะได้รับจากบิดา มารดา และญาติ                                                         เครดิตhttp://www.study-in-japan.com/web/home/index_school_contents.php?contents_id=85