แนวเส้นดอกซากุระบานที่ประเทศญี่ปุ่น | |
ดอกซากุระที่ประเทศญี่ปุ่น จะเริ่มบานจากส่วนล่างของประเทศก่อน เริ่มจากหมู่เกาะโอกินาว่า ซึ่งจะบานตั้งแต่เดือนมกราคม บานเรื่อยมาจนถึงโอซาก้า เกียวโต นาโงย่า โตเกียว และจะบานที่ฮอคไกโดราวเดือนพฤษภาคม รูปต่อไปนี้เป็นข้อมูลเฉลี่ยที่ดอกซากุระบาน
» ข้อมูลและรูป : Japan National Tourism Organization (JNTO)
| |
![]() | |
![]() | |
![]() |
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
พยากรณ์ดอกซากุระบาน
เทศกาลชมดอกไม้เดือนเมษายน
เทศกาลชมดอกไม้หรือที่เรียกว่า ฮานามิ (Hanami) ในภาษาญี่ปุ่นจริงๆ แล้วหมายถึง การชมดอกไม้ (ไม่ได้ระบุว่าเป็นดอกไม้ชนิดไหน) แต่ชาวญี่ปุ่นจะนิยมชมดอกซากุระกันมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่นๆ ที่สำคัญดอกไม้ประจำชาติสายพันธุ์นี้ จะบานแค่ปีละครั้งเท่านั้น ครั้งละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ผู้คนก็เลยถือโอกาสนี้ให้เป็นเทศกาลชมดอกซากุระ พร้อมกับเป็นการสังสรรค์ประจำปีกันไปเลยทีเดียว | |
![]() | |
เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ไปจนถึง พฤษภาคม ของทุกปี ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เริ่มจากทางตอนใต้ของประเทศ คือโอกินาว่า ไปสิ้นสุดที่ตอนเหนือ คือ ฮอคไกโด (Hokkaido) ไม่ได้บานพร้อมกันทั้งประเทศ การบานของดอกซากุระจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่ว่าที่ไหนหรือเวลาไหนก็บานได้ โดยปกติแล้วจะเป็นช่วงเวลาที่อากาศกำลังเย็นสบาย ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป ซึ่งมักจะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างฤดูหนาวกับฤดูใบไม้ผลินั่นเอง และเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศวางในลักษณะแนวตั้ง ดังนั้นฤดูกาลของญี่ปุ่น จากฤดูหนาวสู่ร้อน จึงเริ่มที่ส่วนล่างของประเทศก่อนจากหมู่เกาะโอกินาว่า ซึ่งจะบานตั้งแต่เดือนมกราคมเลย เรื่อยมาจนถึงโอซาก้า เกียวโต นาโงย่า โตเกียว และจะบานเป็นที่สุดท้าย ที่ฮอคไกโดในราวเดือนพฤษภาคม โดยดอกซากุระจะบานเพียงช่วงสั้นๆ นับจากวันที่เริ่มผลิดอก จนถึงวันที่ ดอกบานสะพรั่งที่สุด รวมแล้วประมาณ 7 วันเท่านั้น และหลังจากนั้นก็จะร่วงโรยไปทันที นอกจากนี้สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย พายุ ฝนตกหนัก หรือลมกรรโชกแรง ก็ส่งผลให้ระยะเวลาที่ดอกซากุระบานลดลงได้ หรือหากทีไหนฤดูกาลแปรปรวน (เช่น ฤดูหนาวยาวนานกว่าปกติ) ซากุระก็จะเลื่อนเวลาบานออกไปเช่นกัน แล้วไม่ใช่ว่าในท้องที่หรือเมืองเดียวกัน ซากุระจะบานสะพรั่งพร้อมกัน เพราะต้นไหนอยู่ในที่ร่มก็จะบานช้ากว่าต้นที่อยู่กลางแจ้งอีกด้ว ซากุระพันธุ์ somei yoshino ตามปกติ ต้นไม้ทั่วไป จะผลิใบก่อน จากนั้นจึงจะผลิดอก ดังนั้น ในยามที่ดอกไม้บาน ก็จะเป็นการบาน ท่ามกลางใบไม้สีเขียว แต่ซากุระพันธุ์ somei yoshino นี้ มีมีความแตกต่างจากต้นไม้ชนิดอื่นคือ ดอกไม้จะบาน ก่อนที่ใบไม้จะผลิ ดังนั้น ในยามที่ดอกไม้บานสะพรั่ง ต้นซากุระทั้งต้น จึงเต็มไปด้วยดอกไม้ โดยยังไม่มีใบไม้เลย จึงเป็นภาพที่มีความงดงามตระการตาเป็นอย่างยิ่ง การพยากรณ์และการประกาศช่วงเวลาที่ดอกซากุระผลิบาน จะยึดถือจากพันธุ์ somei yoshino นี้เป็นหลัก นอกจากจะมีความสวยงามกว่าพันธุ์อื่นๆแล้ว ซากุระพันธุ์ somei yoshino ยังเจริญเติบโตรวดเร็วกว่า แต่มีข้อเสียคือ จะมีอายุสั้นเพียงประมาณ 60 ปีเท่านั้น ในขณะที่ซากุระพันธุ์อื่น เช่น yama zakura หรือ edo higan จะมีอายุยืนหลายร้อยปีทีเดียว |
ประวัติภูเขาไฟฟูจิ
ชื่อว่ามีผู้ปีนเขาฟูจี ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1206 โดยนักบวชท่านหนึ่ง และในช่วงระหว่างนั้นจนถึงยุคเมจิ ภูเขาฟูจิได้ชื่อว่า เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ซึ่งห้ามผู้หญิงขึ้นเขา โดยในปัจจุบันภูเขาฟูจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ภูเขาฟูจิได้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากในงานเขียนหรือภาพวาดต่างๆ โดยเฉพาะภาพวาดของ โฮะกุไซ ที่มีให้เห็นในวรรณกรรมญี่ปุ่นและกาพย์กลอนที่สำคัญมากมาย
ภูเขาฟูจิยังเป็นฐานทัพของซามูไรต่างๆมากมายจากยุคอดีต เป็นที่ฝึกฝน ซึ่งในปัจจุบัน ฐานทัพหนึ่งของกองทหารญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณตีนเขาฟูจิ
ภูเขาไฟฟูจิมีความงามจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก และกลายเป็นสัญลักษณ์ ประจำชาติของ
ญี่ปุ่นอีกอย่างหนึ่ง ภูเขานี้อยู่ห่างจากกรุงโตเกียว 70 ไมล์ ยอดสูง 12,385 ฟุต มีปล่องภูเขาไฟ ที่ดัแล้ว วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 2,000 ฟุต มีลักษณะเป็นรูปฝาชีครอบ ฐานข้างล่างแผ่กว้างออก วัดโดยรอบได้ประมาณ 100 กิโลเมตร บริเวณโดยรอบภูเขาไฟฟูจิมีสวนสาธารณะ มีสถานที่ว่ายน้ำ อาบน้ำ มีทะเลสาบกว้างใหญ่ และทัศนียภาพที่งดงาม ชาวญี่ปุ่นทุกคนต้องดินทางมาเที่ยวที่ ภุเขาไฟนี้อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ที่อยู่บนยอดเขา
การที่ปีนภูเขาไฟฟูจิในตอนกลางคืน เพราะ เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้วเราก็จะได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นพอดี ซึ่งสวยงามมาก ส่วนมากแล้วชาวญี่ปุ่นจะใช้เวลา ประมาณ 2 วันในการปีนภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งระหว่างทางก็จะมีที่พัก ให้สำหรับนักปีนเขาอยู่ตลอดทาง ข้างบนยอดเขาฟูจินั้นยังมีโทรศัพท์และตู้ไปรษณีย์สำหรับผู้ที่สนใจจะปีนก็ สามารถซื้อไม้ที่เชิงเบา เพื่อที่จะเอาไว้ทำเครื่องหมาย
ในแต่ละจุดที่เดินผ่าน
ตำนานดอกซากุระ
ซากุระ" มาจากคำเก่าแก่สองคำ คือ "ซา" หมายถึง วิญญาณแห่งพืชพันธุ์ และ "กุระ" หมายถึง ที่ประทับของเทพเจ้า ดังนั้นคำว่า "ซากุระ" จึงหมายถึง ที่สถิตของจิตวิญญาณแห่งพืชพันธุ์ทั้งปวง
ในแง่ของตำนาน ซากุระเกิดขึ้นมาเพราะเทวนารีองค์หนึ่ง คือโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะเชื่อกันว่า พระนางเป็นผู้ริเริ่มปลูกซากุระขึ้นเป็นครั้งแรก จึงได้ชื่อตามพระนามของนาง
โคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ เป็นธิดาของโอโฮยามัทซูมิ เทพแห่งภูเขา วันหนึ่งพระนางได้พบเทพนินิงิที่ชายทะเล และตกหลุมรักซึ่ง กันและกัน เทพนินิงิทูลขอเทพโอโฮยามัทซูมิเพื่อขอนางมาเป็นชายา ในตอนแรก เทพโอโฮยามัทซูมิได้เสนอธิดาอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นเทพีแห่งก้อนหินมาเป็นคู่สยุมพรแทน แต่เทพนินิงิไม่ยอม พระองค์ยังยืนกรานในรักมั่นที่มีต่อเทวี แห่งซากุระ ในที่สุดจึงได้วิวาห์ดังที่ปรารถนา หลังอภิเษกได้เพียงวันเดียวเทพีโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะก็ทรงครรภ์ เทพโอโฮยามัทซูมิทรงคลางแคลงพระทัยว่าบุตรในท้องไปลู กของพระองค์จริงหรือไม่

การที่เทพีโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ ได้กำเนิดโอรสในกองเพลิงนี่เอง ทำ ให้ชาวบ้านเชื่อกันว่า พระนางควบคุมไฟได้ เลยก็เลยมีการสร้างศาลบูชาพระนางขึ้นที่ตีนภูเขาไฟฟูจิในปี ค.ศ.806 ด้วยความหวังว่า พระนางจะช่วยไม่ให้ภูเขาไฟพิโรธ ทำให้ประชาชนเดือด ร้อน พระนางจึงกลายเป็นเทพีแห่งภูเขาไฟฟูจิด้วย จนถึงทุกวันนี้ ผู้ที่ไปเยือนภูเขาไฟฟูจิมักจะแวะไปศักการะศาลของพระ นางและเชื่อกันอีกอย่าง ว่า เมล็ดพันธุ์ของต้นซากุระที่พระนางนำมาปลูกเป็นครั้งแ รกในญี่ปุ่นนั้น ก็มาจากภูเขาไฟฟูจิซึ่งพระองค์ดูแลอยู่นี่เอง
นอก จากนั้น พระนางยังเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความปลอดภัยในบ้านและเปลี่ยนโชคร้ายให้กลายเป็นดี ให้ผู้คนได้ตามที่หัวใจปรารถนาด้วย
ในแง่ของตำนาน ซากุระเกิดขึ้นมาเพราะเทวนารีองค์หนึ่ง คือโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะเชื่อกันว่า พระนางเป็นผู้ริเริ่มปลูกซากุระขึ้นเป็นครั้งแรก จึงได้ชื่อตามพระนามของนาง
โคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ เป็นธิดาของโอโฮยามัทซูมิ เทพแห่งภูเขา วันหนึ่งพระนางได้พบเทพนินิงิที่ชายทะเล และตกหลุมรักซึ่ง กันและกัน เทพนินิงิทูลขอเทพโอโฮยามัทซูมิเพื่อขอนางมาเป็นชายา ในตอนแรก เทพโอโฮยามัทซูมิได้เสนอธิดาอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นเทพีแห่งก้อนหินมาเป็นคู่สยุมพรแทน แต่เทพนินิงิไม่ยอม พระองค์ยังยืนกรานในรักมั่นที่มีต่อเทวี แห่งซากุระ ในที่สุดจึงได้วิวาห์ดังที่ปรารถนา หลังอภิเษกได้เพียงวันเดียวเทพีโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะก็ทรงครรภ์ เทพโอโฮยามัทซูมิทรงคลางแคลงพระทัยว่าบุตรในท้องไปลู กของพระองค์จริงหรือไม่

การที่เทพีโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะ ได้กำเนิดโอรสในกองเพลิงนี่เอง ทำ ให้ชาวบ้านเชื่อกันว่า พระนางควบคุมไฟได้ เลยก็เลยมีการสร้างศาลบูชาพระนางขึ้นที่ตีนภูเขาไฟฟูจิในปี ค.ศ.806 ด้วยความหวังว่า พระนางจะช่วยไม่ให้ภูเขาไฟพิโรธ ทำให้ประชาชนเดือด ร้อน พระนางจึงกลายเป็นเทพีแห่งภูเขาไฟฟูจิด้วย จนถึงทุกวันนี้ ผู้ที่ไปเยือนภูเขาไฟฟูจิมักจะแวะไปศักการะศาลของพระ นางและเชื่อกันอีกอย่าง ว่า เมล็ดพันธุ์ของต้นซากุระที่พระนางนำมาปลูกเป็นครั้งแ รกในญี่ปุ่นนั้น ก็มาจากภูเขาไฟฟูจิซึ่งพระองค์ดูแลอยู่นี่เอง
นอก จากนั้น พระนางยังเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความปลอดภัยในบ้านและเปลี่ยนโชคร้ายให้กลายเป็นดี ให้ผู้คนได้ตามที่หัวใจปรารถนาด้วย
คิคุ ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกไม้ประจำชาติหรือเป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น ดอกเบญจมาศ (Kiku: 菊)เป็น ดอกไม้ที่มีความสำคัญมาแต่ในอดีต ตั้งแต่สมัยนารา มีการนำดอกเบญจมาศมาทำเป็นยาซึ่งเป็นสูตรมาจากเมืองจีน และในสมัยต่อๆมา ดอกเบญจมาศก็ปรากฎอยู่บนภาพพิมพ์ เป็นลายบนข้าวของเครื่องใช้ในวัง เป็นลายบนตราประจำตัวขุนนาง เป็นต้น ปัจจุบันดอกเบญจมาศก็มีปรากฎบนด้านหลังของเหรียญ 50 เยน
คิคุ คือ ดอกเบญจมาศ รูปดอกเบญจมาศ 16 กลีบถือเป็นสัญลักษณ์ขององค์จักรพรรดิญี่ปุ่น หรือรู้จักกันอีกชื่อว่าบัลลังก์เบญจมาศ หมายถึงการขึ้นครองราชย์นั่นเอง เเละดอกเบญมาศก็เป็นดอกไม้ประจำเดือนมกราคมของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้
ภาษาญี่ปุ่น (日本語) ) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ
คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ)
ภาษาญี่ปุ่นควรรู้
คำทักทาย











วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556
เทศกาลในฤดูหนาว
เทศกาลในฤดูหนาว


15-18 ธ.ค.
| เทศกาล อ็อง มัตสุริ (On Matsuri) ของศาลเจ้าคะซึกะของเมืองนารา จะมีขบวนแห่สวมหน้ากาก |
17-19 ธ.ค.
| งานฮะโกอิตะ อิชิ (Hagoita-Ichi) ของวัดอะซะคุซะคันนอนในโตเกียว มีการออกร้านขายไม้ตีลูกขนไก่โบราณ |
31 ธ.ค.
| งานไหว้พระ (OTERAMAIRI) ที่ศาลเจ้ายะซะกะในเกียวโต มีพิธีไฟศักดิ์สิทธิ์ |
1 ม.ค.
| วันปีใหม่ (New Year’s Day) มีจนถึงวันที่ 3 ร้านค้า โรงงาน ธุรกิจต่างๆ จะปิด ครอบครัวต่างๆ จะฉลองด้วยอาหารมื้อพิเศษ แต่งชุดกิโมโนที่สวยที่สุด และจะพากันไปวัดหรือศาลเจ้า เพื่อไหว้พระขอพรให้สุขภาพดี และมีความสุขตลอดปี |
6 ม.ค.
| วันทำพิธีดับเพลิง (Dezomeshiki) ชมขบวนสาธิตการดับเพลิงในโตเกียว โดยมีตัวแทนพนักงานดับเพลิงแสดงโลดโผนบนยอดบันไดช่วยหนีไฟ |
กลาง ม.ค.
| (15 วัน) การแข่งซูโม่รอบแรก ในโตเกียว |
ก่อนวันบรรลุ นิติภาวะ
| (Day Before Coming of Age Day) เทศกาลเผาหญ้า บนเขา WakakusaYama ในเมืองนารา |
ต้น ก.พ.
| (7วัน) เทศกาลหิมะ (Snow Festival) ที่มีชื่อที่สุดในญี่ปุ่น ที่เมืองซัปโปโร บนเกาะฮ็อกไกโด มีรูปแกะสลักหิมะและน้ำแข็งอันมหึมาต่างๆ มากมายจากทั่วโลกมาประชันและแข่งขันกันทุกปี |
ต้นหรือกลาง ก.พ.
| เทศกาลหิมะ ที่อะซะฮิคะวะหรืออะบะชิริและเมืองอื่นๆ ในฮ็อกไกโด |
3 หรือ 4 ก.พ.
| เทศกาลโปรยถั่ว (Setsubun Matsuri) เป็นพิธีไล่สิ่งอัปมงคล ทำกันตามวัดใหญ่ทั่วประเทศ |
3 หรือ 4 ก.พ.
| เทศกาลแห่โคม (Lantern Matsuri) ของศาลเจ้าคะซึกะ ในเมืองนารา |
5-16 ก.พ.
| เทศกาลคะมะคุระ (Kamakura Matsuri) ของเมืองโยโคเทะในอะคิตะ มีกระท่อมหิมะที่สร้างบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำ |
วันเสาร์ที่ 3ของ ก.พ.
| เทศกาลเปลือย (Hadaka Matsuri) ที่วัดไซไดหยิในเมืองโอคะยะมะ |
เครดิต http://siya.in.th/60403/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=38&Itemid=37
เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง

เทศกาลในฤดูใบไม้ร่วง
16 ก.ย.
| งานแสดงขี่ม้ายิงธนู (Yabusame) ที่ศาลเจ้าทซึรุหงะโอกะ ฮะจิมังงู ที่เมืองคะมะคุระ |
กลาง ก.ย.
| (15 วัน) แข่งซูโม่รอบที่ 5 ในโตเกียว |
7-9 ต.ค.
| เทศกาลคุนจิ (Kunchi Matsuri) ของศาลเจ้าซูวะในเมืองนางาซะกิ มีระบำมังกรจีนดั้งเดิม |
9-10 ต.ค.
| เทศกาลทะคะยะมะ (Takayama Matsuri) แห่งศาลเจ้าฮาจิมังงุ ซึ่งมีขบวนรถสีสรรต่างๆ มากมาย |
กลาง ต.ค.
| เทศกาลเมืองนาโงย่า (Nagoya City Matsuri) มีขบวนพาเหรดซามูไรตามถนนในเมือง |
กลาง ต.ค. ถึง พ.ย.
| เทศกาลดอกเบญจมาศ ที่ศาลเจ้าเมหยิ และวัดอะซะคุซะในโตเกียว |
17 ต.ค.
| เทศกาลฤดูใบไม้ร่วง (Autumn Matsuri) ของศาลเจ้าโทโชงุ ที่เมืองนิกโก้ มีขบวนพาเหรดของนักรบโบราณในชุดเสื้อเกราะติดตามขบวน |
22 ต.ค.
| เทศกาลยุคสมัย (Jidai Matsuri) เป็นเทศกาลของศาลเจ้าเฮอันใน เกียวโตซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 เทศกาลใหญ่ของเกียวโต |
22 ต.ค
| เทศกาลไฟ จะมีขบวนแห่คบเพลิงมุ่งมายังศาลเจ้ายุคิคุระมะในเกียวโต |
2-4 พ.ย.
| เทศกาลโอคุนจิ (Okunchi Matsuri) ของศาลเจ้าคะระทจึในเมืองจะซะหงะ จะมีขบวนพาเหรดที่มีสีสรร |
3 พ.ย.
| ขบวนแห่เจ้าเมือง (Daimyo Gyoretsu) ในเมืองฮะโกเน่ |
กลาง พ.ย.
| (15 วัน) แข่งซูโม่รอบที่ 6 ในเมืองฟุคุโอกะ |
15 พ.ย.
| เทศกาลเจ็ดห้าสาม สำหรับเด็กอายุ 3, 5 และ 7 ปี จะไปศาลเจ้าเพื่อขอพรจากเทพเจ้าให้มีสุขภาพดีตลอดไป |
เทศกาลในฤดูร้อน

เทศกาลในฤดูร้อน
กลาง มิ.ย.
|
เทศกาลซันโน (Sanno Matsuri) ที่ศาลเจ้าฮิเอะ ในโตเกียว มีการแห่ศาลเจ้าผ่านถนนในย่านอะซะกุซะ |
|||
เสาร์ที่ 2 ของ มิ.ย.
|
เทศกาลม้า (Chagu-Chagu Umakko Horse Festival) ในเมืองโมริโอกะ มีแห่ขบวนม้าประดับอย่างมีสีสัน |
|||
7 ก.ค.
|
เทศกาลดวงดาวหรือเทศกาลทานาบะตะ (Tanabata Festival) จัดขึ้นทั่วญี่ปุ่น แต่ที่เมืองเซนไดอย่างยิ่งใหญ่ และมีชื่อเสียงที่สุด มีการประดับโคมกระดาษหลากสีสวยงาม |
|||
กลาง ก.ค.
|
(15 วัน) การแข่งซูโม่ รอบที่ 4 ที่นาโงย่า |
|||
13-15 ก.ค.
|
(หรือ ส.ค.ในหลายพื้นที่) เทศกาลบน (Bon Festival) จัดทั่วประเทศ เป็นพิธีทางศาสนา เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมีการเต้นระบำโบราณ BON ODORI เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณเหล่านั้น |
|||
14 ก.ค.
|
เทศกาลไฟ (Nachi Shrine No Himatsuri) ที่ศาลเจ้านะจิคะทจึระในเมืองวะกะยะมะ มีการแบก 12 คบเพลิงขนาดใหญ่ โดยนักบวชในชุดขาว |
|||
1-15 ก.ค.
|
เทศกาลฮะคะตะ กิออน ยะมะงะซะ (Hakata Gion Yamagasa) งานใหญ่จะจัดในวันที่ 15 ที่เมืองฟุคุโอกะ มีการแห่ขบวนรถประดับสวยงามที่ยิ่งใหญ่ |
|||
16-17 ก.ค.
|
เทศกาลกิออน (Gion Matsuri) เป็นเทศกาลย้อนยุคไปในศตวรรษที่ 9 ที่ใหญ่ที่สุดในเกียวโต จะมีขบวนแห่ชุดแต่งกายโบราณผ่านถนนสายหลักหลายสาย |
|||
ก.ค. หรือ ส.ค.
|
เทศกาลดนตรี (Kangensai Music Festival) ของศาลเจ้า Itsukushima ใกล้เมืองฮิโรชิม่า มีการรำประกอบดนตรีราชสำนัก |
|||
24-25 ก.ค.
|
เทศกาลเทนยิน (Tenjin Matsuri) ของศาลเจ้าเทนมันงู ในโอซาก้า มีขบวนแห่ศาลเจ้าบนเรือเหนือลำน้ำโดจิมะ |
|||
1-7 ส.ค.
|
เทศกาลเนบุตะ (Nebuta Matsuri) มีขบวนแห่โครงหุ่นประดับไฟ ในเมืองอะโอโมริ (2-7 สิงหาคม) เมืองฮิโรซะกิ |
|||
3-6 ส.ค
|
เทศกาลคันโต (Kanto Matsuri)ที่เมืองอะคิตะ มีขบวนแห่แผงโคมไฟที่แขวนบนราวไม้ไผ่ |
|||
5-7 ส.ค.
|
เทศกาลฮะนะงะซะ (Hanagasa Matsuri) ในเมืองยะมะงะตะ มีขบวนฟ้อนรำของชาวเมือง เป็น 10,000 คน ในชุดหมวกฟางติดดอกไม้เทียม ซึ่งเป็นชุดประจำเทศกาล |
|||
12-15 ส.ค.
|
เทศกาลระบำอาว่า (Awa Odori Folkdance Festival) ที่เมืองโทคุชิมะ มีการร้องรำทั้งกลางวันและกลางคืน |
|||
16 ส.ค.
|
|
เทศกาลในฤดูใบไม้ผลิ
เครดิต:http://siya.in.th/60403/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=35&Itemid=38
3 มี.ค.
|
เทศกาลฮินะมัตสุริ (Hina Matsuri) เป็นเทศกาลวันเด็กผู้หญิง
จะมีการตกแต่งตุ๊กตาที่แต่งกายแบบพระราชสำนักบนหิ้งเป็นชั้นๆ
ในบ้านที่มีลูกสาวยังเด็กอยู่ |
||
13 มี.ค.
|
เทศกาลคะซูกะ (Kasuga Matsuri) ของศาลเจ้าคะซูกะ ในเมืองนารา มีการฟ้อนรำโบราณที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี |
||
กลางมีนาคม
|
|
||
1-30 เม.ย.
|
ระบำมิยะโกะ หรือระบำซากุระ ที่เกียวโต เป็นระบำญี่ปุ่น ที่แสดงโดยนักฟ้อนรำที่เรียกว่า "ไมโกะ" (Maiko) |
||
8 เม.ย.
|
เทศกาลถวายดอกไม้ (Hana Matsuri) ตามวัดพุทธต่างๆ เพื่อระลึกถึงวันประสูติของพระพุทธเจ้า |
||
14-15 เม.ย.
|
เทศกาลทะคะยะมะ (Takayama Matsuri) ของศาลเจ้าฮิเอะ ในเมืองทะคะยะมะ ชมขบวนรถแห่ศาลเจ้าอันตระการตา |
||
16-17 เม.ย.
|
เทศกาลยะโยอิ (Yayoi Matsuri) ที่ศาลเจ้าฟุตะระซัน ในเมืองนิกโก มีขบวนแห่ตกแต่งสวยงาม |
||
3-4 พ.ค
|
เทศกาลฮะคะตะ โดนทะคุ (Hakata Dontaku) ในเมืองฟุคุโอกะ มีขบวนแห่เทพเจ้าบนหลังม้า ตามตำนานญี่ปุ่น |
||
3-5 พ.ค.
|
เทศกาลแข่งว่าว ที่เมืองฮะมะมัตสึ เป็นสนามแข่งว่าวที่มีการแข่งขันว่าวขนาดใหญ่ที่สุด |
||
5 พ.ค.
|
เทศกาลวันเด็กผู้ชาย จะมีการประดับธงปลาคาร์พหลากสี ตามจำนวนลูกชายของแต่ละบ้าน ซึ่งจะโบกสะบัดโต้ลมฤดูใบไม้ผลิ อย่างสวยงามมาก |
||
11 พ.ค.-15 ต.ค.
|
เทศกาลจับปลาโดยนกกาน้ำ ในแม่น้ำนะงะระงะ ที่เมืองเซคิในจังหวัดกิฟุ |
||
15 พ.ค.
|
เทศกาลอะโออิ (Aoi Matsuri) ที่เมืองเกียวโตจะมีขบวนแห่ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โบราณ พร้อมขบวนรถที่มีพรรณไม้ดอกหลากสีอันสวยหรู |
||
กลาง พ.ค.
|
(15 วัน) การแข่งซูโม่รอบที่ 3 ในโตเกียว |
||
17-18 พ.ค.
|
เทศกาลใหญ่ของศาลเจ้า โทโชงุ ที่เมืองนิกโก้ จะมีขบวนแห่นักรบกว่า 1,000 คน |
||
วันอาทิตย์ที่ 3 ของ พ.ค.
|
เทศกาลมิฟูเน่ (Mifune Matsuri) มีแห่ขบวนเรือโบราณ บนแม่น้ำโออิ ในเกียวโต |
||
วันอาทิตย์ที่ 3 ของ พ.ค.
|
เทศกาลซันจะ (Sanja Matsuri) ของศาลเจ้าอะซะกุซะ ในโตเกียว มีการแห่ศาลเจ้าใหญ่ๆ 3 ศาล อีกทั้งย่อยๆ อีกนับร้อยกว่าศาล |
ฤดูหนาว
กินระยะเวลาจากเดือนธันวาคมจนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์เลยหล่ะค่ะ นับเป็นช่วงหนาวที่โหดร้ายสำหรับชาวญี่ปุ่นแถบทางเหนือของฮ็อกไกโด โทฮกกุ และฮิคุริกุเลยทีเดียว สิ่งที่น่ารื่นรมย์สำหรับฤดูหนาวก็คือเทศกาล "Omisoka" คล้าย ๆ การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่หล่ะค่ะ แต่จะไม่ตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม แต่จะอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนปีใหม่นะคะ คนในครอบครัวจะใช้เวลาอาหารเย็นร่วมกันอย่างเป็นสุข ส่วนใหญ่จะนิยมฉลองกันด้วยบะหมี่ที่เรียกว่า " Toshikoshi soba " หรือบะหมี่ข้ามปีนั่นเอง พร้อมกับการรอคอยการฟังเสียงระฆังต้อนรับปีใหม่ ที่เรียกว่า "Joya no kane" ค่ะ
ฤดูใบไม้ร่่วง
อยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายนค่ะ เป็นช่วงที่แสนจะโรแมนติกเลยหล่ะค่ะ เพราะใบไม้สีเขียวสีแดงร่วงลงมาทับถมบริเวณทั่วไป และเป็นช่วงของการแข่งกีฬาระหว่างโรงเรียน ปลายฤดูใบไม้ร่วงก่อนถึงฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ส่องแสงยาวนานที่สุด ชาวญี่ปุ่นเรียกช่วงนี้ว่า " Koharubiyori " ค่ะ
ฤดูร้อน
ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคมค่ะ แต่ในช่วงมิถุนายนมักมีฝนตกจึงทำให้อากาศไม่ร้อนเกินไป หลังจากนั้นจะเริ่มร้อนและมีแดดจัด การอาบแดด แคมปิ้ง และการพักผ่อนตามชายหาด คือกิจกรรมยอดนิยมในช่วงฤดูร้อนนี้เลยหล่ะค่ะ จึงทำให้สถานที่พักผ่อนตามชายทะเลเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยว ดังนั้นหากใครที่วางแผนจะเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงนี้ควรจองที่พักล่วงหน้านะ คะ
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคมค่ะ แต่ในช่วงมิถุนายนมักมีฝนตกจึงทำให้อากาศไม่ร้อนเกินไป หลังจากนั้นจะเริ่มร้อนและมีแดดจัด การอาบแดด แคมปิ้ง และการพักผ่อนตามชายหาด คือกิจกรรมยอดนิยมในช่วงฤดูร้อนนี้เลยหล่ะค่ะ จึงทำให้สถานที่พักผ่อนตามชายทะเลเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยว ดังนั้นหากใครที่วางแผนจะเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงนี้ควรจองที่พักล่วงหน้านะ คะ
ฤดูใบไม้ผลิ
ฤดูใบไม้ผลิ
อยู่ระหว่างดือนมีนาคม-พฤษภาคมค่ะ เป็นฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการเยือนประเทศญี่ปุ่นเลยนะคะ และคนญี่ปุ่นเองก็ถือว่าเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นใหม่ของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเป็นช่วงเปิดเทอมของเด็ก ๆ อีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะพบเห็นชาวญี่ปุ่นออกมาเดินเล่นและมีกิจกรรมนอกบ้าน กันมากมาย ทั้งนี้จะเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูหนาวที่หิมะละลายหมด และเป็นการเริ่มต้นของซากุระไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ในฤดูนี้ยังมีช่วงเวลาของวันสำคัญหลายอย่างค่ะ รวมไปถึงเทศกาลชมซากุระ ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "Hanami " อีกด้วยนะคะ
อยู่ระหว่างดือนมีนาคม-พฤษภาคมค่ะ เป็นฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการเยือนประเทศญี่ปุ่นเลยนะคะ และคนญี่ปุ่นเองก็ถือว่าเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นใหม่ของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเป็นช่วงเปิดเทอมของเด็ก ๆ อีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะพบเห็นชาวญี่ปุ่นออกมาเดินเล่นและมีกิจกรรมนอกบ้าน กันมากมาย ทั้งนี้จะเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูหนาวที่หิมะละลายหมด และเป็นการเริ่มต้นของซากุระไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ในฤดูนี้ยังมีช่วงเวลาของวันสำคัญหลายอย่างค่ะ รวมไปถึงเทศกาลชมซากุระ ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "Hanami " อีกด้วยนะคะ
เทศกาลเด็กผู้หญิง
วัน
เด็กผู้หญิง (Hinamatsuri ひな祭り ) ตรงกับวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี
"เทศกาลฮินะ" เป็นเทศกาลฉลองของเด็กผู้หญิง หรือบางท่านอาจ เรียกว่า
"เทศกาลลูกท้อ" (Momo no sekku)
เป็นการอธิษฐานของพรให้เด็กผู้หญิงเติบโตมีสุขภาพที่แข็งแรงและได้มีคู้ครอง
ที่ดี โดยประดับตุ๊กตาฺฮินะ (Hina-ningyou) เรียงไว้บนหิ้ง 7 ชั้น
นิยมเสริฟสาเกขาว (Shirozake) ซึ่งทำจากการเหล้ากับข้าวบาเลย์
และทานขนมโมจิ (Hishimochi) หรือขนมแป้งรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
กันในเทศกาลนี้
ตุ๊กตาที่ตั้งโชว์จะประกอบด้วยตุ๊กตาจักรพรรดิและจักรพรรดินี (ไดริซามะ) นางกำนัล 3 คน (ซันนิน คันโจ) พร้อมทั้งนักดนตรี 5 คน (โกะนิน บายาฉิ) และตุ๊กตาอื่น ๆ ตุ๊กตาทุกตัวจะถูกวางเรียงบนแท่นที่เป็นขั้น ๆ ซึ่งมีผ้ากำมะหยี่สีแดงคลุม แท่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ฮินะดัง" เช่นเดียวกับชื่อเรียกของที่นั่งของรัฐมยตรีในสภาไดเอท
ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้กที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมจิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และจิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตาเจ้าชายโอไดริซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง
ตุ๊กตาที่ตั้งโชว์จะประกอบด้วยตุ๊กตาจักรพรรดิและจักรพรรดินี (ไดริซามะ) นางกำนัล 3 คน (ซันนิน คันโจ) พร้อมทั้งนักดนตรี 5 คน (โกะนิน บายาฉิ) และตุ๊กตาอื่น ๆ ตุ๊กตาทุกตัวจะถูกวางเรียงบนแท่นที่เป็นขั้น ๆ ซึ่งมีผ้ากำมะหยี่สีแดงคลุม แท่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ฮินะดัง" เช่นเดียวกับชื่อเรียกของที่นั่งของรัฐมยตรีในสภาไดเอท
ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้กที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมจิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และจิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตาเจ้าชายโอไดริซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง
เทศกาลปีใหม่
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)